วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สงครามสำคัญกับพม่า

สงครามสำคัญกับพม่า

          สงครามช้างเผือก      พระเจ้าบุเรงนองขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้  พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีแสนยานุภาพมาก  ได้ทำสงครามขยายอาราเขตรวมเมืองต่างๆ  เข้าเป็นเมืองขึ้นมากมาย  พม่าหาเหตุมาตีไทยโดยส่งทูตมาขอช้างเผือก  2  เชือก  แต่ทางไทยไม่ให้  พม่าจึงยกทัพเข้ามาตีเมือง พ.ศ. 2106  ผลที่สุดไทยยอมสงบศึกและยอมส่งตัวพระราเมศวร  พระยาจักรี  พระสุนทรสงครามไปเป็นตัวประกัน  และให้ช้างเผือกอีก  4  เชือก  พร้อมทั้งส่งส่วยประจำปีให้พม่า
              สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1        หลังจากสงครามช้างเผือกสิ้นสุดลง  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรางพยายามปรับปรุงกรุงศรีอยุธยาเพื่อเตรียมรับศึกพม่าที่จะมีมาอีก  แต่เนื่องจากทรงยอมให้เจ้าเมืองสำคัญๆ  ปกครองอย่างเป็นอิสระ  ประกอบกับเกิดความขัดแย้งกันระหว่างพระมหินทร์  ราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  กับพระมหาธรรมราชาพระญาติผู้ใหญ่ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก  ทำให้อยุธยาอ่อนแอลง  พม่าจึงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2111   ขณะนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวร   และสวรรคตในเวลาต่อมา  สมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์  พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานาน  จนจวนจะถึงฤดูน้ำหลากก็ยังตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้สำเร็จ  พม่าจึงใช้กลอุบายยุยงคนไทย  โดยการส่งพระยาจักรีซึ่งเป็นตัวประกันอยู่พม่า  ครั้งก่อนเข้ามาเป็นไส้ศึก  กรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2112
              สงครามยุทธหัตถี        หลังจากที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึง  15  ปี  สมเด็จพระนเรศวรก็สามารถกู้อิสรภาพคืนมาได้  โดยประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงใน พ.ศ. 2127  พม่ายกทัพมาปราบปรามหลายครั้งแต่เอาชนะไม่ได้  สมเด็จพระนเรศวรรบชนะในสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา  ที่อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี  เมื่อ พ.ศ. 2135  ชัยชนะครั้งนั้นทำให้พระเกียรติยศ  และความกล้าหาญเข้มแข็งของสมเด็จพระนเรศวรเลื่องลือไปทั่ว  ทำให้กรุงศรีอยุธยาปราศจากข้าศึกรบกวนเป็นเวลานานถึง  150  ปี
              สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา  ครั้งที่ 2     ใน พ.ศ. 2303  ซึ่งเป็นสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ  พระเจ้าอลองพญาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา  ขณะนั้นอ่อนแอ จึงยกกองทัพมาล้อม  แต่มีอุบัติเหตุเป็นแตกถูกพระเจ้าอลอลพญา  บาดเจ็บสาหัสจึงยกทัพกลับ  และสวรรคตระหว่างทาง พอดีเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในพม่าทำให้ต้องปราบปรามอยู่  ระยะหนึ่ง ครั้นบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้วใน พ.ศ. 2309  พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นานประมาณ  1 ปี  2 เดือน  จึงเข้ากรุงศรีอยุธยาได้  และจุดไฟเผาจนหมดสิ้นใน พ.ศ. 2310    กรุงศรีอยุธยาราชธานีไทย  ซึ่งรุ่งเรืองมา  417  ปี  ก็ถึงกาลวิบัติในครั้งนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น